Tergar Thai
Tergar ThaiJuly 27
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ร่างกายคือสิ่งที่รองรับจิต ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตเหมือนความสัมพันธ์ของแก้วกับน้ำที่อยู่ในแก้ว ถ้าคุณวางแก้วไว้ที่ขอบโต๊ะ หรือบนพื้นผิวที่ไม่ราบเรียบ น้ำในแก้วย่อมกระฉอกออกมาหรืออาจจะหกได้ แต่ถ้าคุณวางแก้วบนพื้นผิวที่เรียบ มั่นคง น้ำในแก้วย่อมสงบนิ่ง

ในทำนองเดียวกัน วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้จิตสงบนิ่ง คือ การจัดวางร่างกายให้มั่นคง ด้วยพระปรีชาญาณพระองค์ได้ให้คำแนะนำสำหรับการจัดร่างกายให้ตรงในจุดที่สมดุล เพื่อจิตจะได้คงอยู่อย่างผ่อนคลายและตื่นตัวในขณะเดียวกัน ตลอดเวลาที่ผ่านมา การจัดท่าในแนวตรงเป็นที่รู้จักในท่ามหาไวโรจนะ 7 ตำแหน่ง อันเป็นพุทธลักษณะที่แสดงถึงรูปแบบของความรู้แจ้ง

– ท่านมินจูร์ รินโปเช
จากหนังสือ “ชีวิตที่เบิกบาน”

The Buddha taught that the body is the physical support for the mind. The relationship between them is like the relationship between a glass and the water it contains. If you set a glass down on the edge of a table or on top of something that isn't flat, the water will shift around or possibly spill. But if you set the glass on a flat, stable surface, the water in it will remain perfectly still.

Similarly, the best way to allow the mind to come to rest is to create a stable physical posture. In his wisdom, the Buddha provided instructions for aligning the body in a balanced way that allows the mind to remain relaxed and alert at the same time. Over the years, this physical alignment has become known as the seven-point posture of Vairochana, an aspect of the Buddha that represents enlightened form.

– Mingyur Rinpoche
from the book “The Joy of Living”
Tergar Thai
Tergar ThaiJuly 25
อะไรก็ตามที่ผ่านเข้ามาในจิต ก็อย่าไปเพ่งมัน และไม่ต้องพยายามไปกดข่ม
แค่สังเกตมันเข้ามาและผ่านไปก็พอ

- ท่านยงเก มินจูร์ รินโปเช

ไม่ว่าเราจะเป็นอะไรหรือทำสิ่งใด สิ่งเดียวที่เราต้องทำก็คือ ตระหนักว่าความคิด ความรู้สึก และการรับรู้ทั้งมวล ล้วนเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับ เราก็เพียงแต่รับรู้ถึงประสบการณ์เหล่านั้นและปล่อยให้มันผ่านไป ถ้าเราทำเช่นนี้ได้ ในที่สุดก็จะพบว่าเราสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เคยคิดว่ามันทำให้เราเจ็บปวด หวาดกลัว หรือเศร้าใจได้ เราจะพบความมั่นอกมั่นใจที่มิได้เกิดความยโสโอหังหรืออวดดี เราจะรู้ว่า เรามีที่พักพิงปลอดภัยดุจเนาในนิวาสถาน

เรียนรู้การภาวนา ภายใต้คำแนะนำอันมีกุศโลบายจากท่านยงเก มินจูร์ รินโปเช ตามกำลังความสามารถของคุณได้ที่ joy.tergar.org

#MingyurRinpoche #joyofliving #meditationpractice #meditation #selfcompassion #mindfulness #MingyurRinpochequote

Wherever we are, whatever we do, all we need to do is recognize our thoughts, feelings and perceptions as something natural. Neither rejecting nor accepting, we simply acknowledge the experience and let it pass. If we keep this up, we’ll eventually find ourselves becoming able to manage situations we once found painful, scary, or sad. We’ll discover a sense of confidence that isn’t rooted in arrogance or pride. We’ll realize that we’re always sheltered, always safe, and always home.

Learn meditation under the skillful guidance of Yongey Mingyur Rinpoche at your own pace at joy.tergar.org
Tergar Thai
Tergar ThaiJuly 23
แม้ว่าคุณจะสามารถปฏิบัติในรูปแบบเวลาใดก็ได้ของวัน แต่ข้าพเจ้าถูกสอนมาว่า ช่วงที่ดีที่สุดในการเริ่มปฏิบัติในรูปแบบคือ ทำเป็นสิ่งแรกในตอนเช้าหลังจากที่นอนจนเต็มอิ่มแล้ว ในจุดนั้นจิตจะสดชื่นและผ่อนคลายที่สุด ก่อนที่จะเข้าไปยุ่งวุ่นวายกับธุระประจำวันทั้งหลาย การใช้เวลาปฏิบัติก่อนที่คุณจะออกจากบ้านไปทำงานหรือทำธุระที่ต้องทำ จะเป็นการรักษาอารมณ์ภาวนาให้คุณตลอดทั้งวัน และมีผลส่งเสริมให้คุณมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตลอดทั้งวันด้วย

ทว่าสำหรับใครบางคน การภาวนาในรูปแบบในตอนเริ่มวันใหม่เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ และการพยายามที่จะเค้นเอาการภาวนาตอนเช้ามาใส่ในตารางเวลาให้ได้นั้น รังแต่จะทำให้คุณคิดว่าการภาวนาเป็นภาระที่ต้องทำ ถ้าคุณพบว่ามันเป็นอย่างนั้น ก็ให้เลือกเวลาเอาตามสะดวก อาจเป็นช่วงพักกลางวัน หลังอาหารเย็น หรือก่อนเข้านอนก็ได้

ไม่มี “กฎเกณฑ์” บังคับเรื่องการปฏิบัติในรูปแบบ แต่มีข้อแนะนำที่ได้ผลดีอย่างหนึ่ง ซึ่งบิดาของข้าพเจ้าย้ำนักย้ำหนากับลูกศิษย์ด้วยคำพูดที่จำได้ง่ายๆ สำหรับพวกเราคือ ทำช่วงสั้นๆ แต่บ่อยครั้ง

– ท่านมินจูร์ รินโปเช
จากหนังสือ “ชีวิตที่เบิกบาน”

Though you can practice formally at any time of day, I was taught that the best period to begin formal practice is first thing in the morning after a good night's sleep, at which point the mind is most refreshed and relaxed, before getting involved with all the daily stuff. Taking the time to practice before you leave the house for work or to run whatever errands you have to do sets the tone for your entire day, and also reinforces your own commitment to practice throughout the day.

For some people, though, meditating formally at the beginning of the day simply isn't possible, and trying to force a period of early-morning meditation into your schedule will tend to make you think of meditation as a chore. If you find that to be the case, by all means choose a more convenient time –– perhaps at lunchtime, after dinner, or just before going to bed.

There are no "rules" governing formal practice. But there is one very practical guideline, which my father emphasized again and again to all of his students in a way that would make it easy for us to remember: Short periods, many times.

– Mingyur Rinpoche
from the book “The Joy of Living”
Tergar Thai
Tergar ThaiJuly 20
ขั้นแรกในการตระหนักรู้คุณสมบัติของจิตธรรมชาติ ได้แสดงไว้อย่างชัดเจนในเรื่องเล่าจากพระโอษฐ์ เป็นเรื่องของชายยากจนเข็ญใจอาศัยอยู่ในกระท่อมเก่าซอมซ่อ แม้เขาจะไม่รู้จักอัญมณี ทว่ากลับมีเพชรนิลจินดาฝังประดับอยู่ในผนังและพื้นกระท่อม แม้เขาจะเป็นเจ้าของเพชรพลอยเหล่านี้ทั้งหมด แต่เพราะเขาไม่รู้ถึงคุณค่าของมัน เขาจึงอยู่อย่างยากจนทนทุกข์ด้วยความหิวโหย หนาวเหน็บในฤดูเหมัน และร้อนระทมในฤดูคิมหันต์

วันหนึ่งเพื่อนคนหนึ่งมาถามเขาว่า “ทำไมเจ้าจึงอยู่อย่างคนเข็ญใจเยี่ยงนี้ เจ้าหาได้ยากจนไม่ เจ้าเป็นเศรษฐีคนหนึ่งนั่นเทียว”

“บ้าไปรึ?” ชายผู้นั้นตอบ “เจ้าพูดเยี่ยงนั้นได้อย่างไร?”

“มองไปรอบตัวเจ้าสิ” ผู้เป็นสหายพูด “บ้านของเจ้าเต็มไปด้วยเพชรนิลจินดา? ทั้งมรกต เพชร ไพลิน ทับทิม”

ทีแรกชายผู้นั้นไม่เชื่อในสิ่งที่เพื่อนพูด แต่สักพักเขาเริ่มสงสัย และนำเพชรเม็ดเล็กๆ จากฝาผนังไปขายในเมือง ไม่น่าเชื่อ พ่อค้าที่เขานำเพชรไปขายให้ได้จ่ายให้อย่างงาม และเมื่อมีเงินอยู่ในมือ ชายผู้นั้นจึงกลับเข้าเมืองและซื้อบ้านหลังใหม่ นำเพชรพลอยทั้งหมดเท่าที่หาพบไปด้วย เขาซื้อเสื้อผ้าใหม่ ซื้ออาหารไว้เต็มครัว จ้างคนรับใช้ และเริ่มใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย

ที่นี้ข้าพเจ้าขอถามคำถามหนึ่ง ใครคือคนมั่งคั่ง ชายที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเก่ารายล้อมด้วยเพชรนิลจินดาที่เขาไม่รู้ค่า หรือคนที่รู้คุณค่าของสิ่งที่ตนมี และใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย?

เช่นเดียวกับคำถามก่อนหน้านี้เรื่องก้อนทองคำ คำตอบคือทั้งสองคน ทั้งสองต่างเป็นเจ้าของความมั่งคั่ง ความแตกต่างเพียงประการเดียวคือ เขาไม่รู้จักสิ่งที่เขาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลานานปี จนกระทั่งเขามารู้ว่าเขามีทรัพย์สมบัติ เขาจึงเป็นอิสระจากความยากจนและความทุกข์

เช่นเดียวกับพวกเราทุกคน ตราบใดที่เราไม่รู้จักธรรมชาติที่แท้จริง เราจึงทุกข์ เมื่อเรารู้จักธรรมชาติของเรา เราจึงเป็นอิสระจากความทุกข์ ไม่ว่าคุณจะรู้จักมันหรือไม่ คุณสมบัติของมันก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อคุณเริ่มรู้จักสิ่งซึ่งอยู่ในตัวคุณอยู่แล้ว คุณจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง และคุณภาพของชีวิตคุณจะเปลี่ยนเช่นกัน สิ่งที่คุณไม่คิดฝันว่าจะเป็นไปได้จะเริ่มเกิดขึ้น

– ท่านมินจูร์ รินโปเช
จากหนังสือ “ชีวิตที่เบิกบาน”

The first step toward recognizing the qualities of natural mind is illustrated by an old story told by the Buddha, about a very poor man who lived in a rickety old shack. Though he didn't know it, hundreds of gems were embedded in the walls and floor of his shack. Though he owned all those jewels, because he didn't understand their value, he lived as a pauper-suffering from hunger and thirst, the bitter cold of winter and the terrible heat of summer.

One day a friend of his asked him, "Why are you living like such a pauper? You're not poor. You're a very rich man."

"Are you crazy?" the man replied. "How can you say such a thing?" "Look around you," his friend said. "Your whole house is filled with jewels-emeralds, diamonds, sapphires, rubies."

At first the man didn't believe what his friend was saying. But after a while he grew curious, and took a small jewel from his walls into town to sell. Unbelievably, the merchant to whom he brought it paid him a very handsome price, and with the money in hand, the man returned to town and bought a new house, taking with him all the jewels he could 'find. He bought himself new clothes, filled his kitchen with food, engaged servants, and began to live a very comfortable life.

Now let me ask a question. Who is wealthier – the man who lives in an old house surrounded by jewels he doesn't recognize, or someone who understands the value of what he has and lives in total comfort?

Like the question posed earlier about the nugget of gold, the answer here is: both. They both owned great wealth. The only difference is that for many years one didn't recognize what he possessed. It wasn't until he recognized what he already had that he freed himself from poverty and pain.

It's the same for all of us. As long as we don't recognize our real nature, we suffer. When we recognize our nature, we become free from suffering. Whether you recognize it or not, though, its qualities remain unchanged. But when you. begin to recognize it in yourself, you change, and the quality of your life changes as well. Things you never dreamed possible begin to happen.

– Mingyur Rinpoche
from the book “The Joy of Living”
Tergar Thai
Tergar ThaiJuly 18
ข้าพเจ้าอยากจะให้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า การเปรียบเทียบระหว่างจิตธรรมชาติกับอวกาศตามที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่อธิบายนั้น เป็นเพียงอุปมาอุปไมยยิ่งกว่าคำอธิบายที่เที่ยงตรง เวลาที่พวกเราส่วนใหญ่คิดถึงอวกาศ เราจะคิดถึงห้วงอันเวิ้งว้างว่างเปล่า ซึ่งเทหวัตถุต่างๆ ปรากฏขึ้นและเคลื่อนลับไป อย่างเช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง ดาวตก หลุมดำ และดาวเคราะห์น้อย หรือแม้แต่สิ่งที่ยังไม่ถูกค้นพบก็ตาม แต่ถึงแม้จะไม่นับกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้ ความคิดของเราในเรื่องธรรมชาติของอวกาศก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น อย่างน้อยเท่าที่เรารู้ อวกาศก็ไม่เคยพร่ำบ่นว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับตัวมันบ้าง เราได้ส่งข้อความเป็นพันเป็นล้านออกไปในจักรวาล แต่ไม่เคยมีสักครั้งที่เราจะได้รับคำตอบอย่าง “ฉันโมโหมากนะที่มีอุกกาบาตพุ่งเข้าชนดาวเคราะห์ดวงโปรดของฉันเมื่อกี้” หรือ “โอ้! น่าตื่นเต้นจริงๆ! มีดาวดวงใหม่เพิ่งอุบัติ!”

ในทำนองเดียวกัน แก่นแท้ของจิตไม่ได้ถูกรบกวนด้วยความคิดอันไม่น่าพึงพอใจ หรือด้วยเหตุปัจจัยที่ตามปกติถือว่าเป็นความเจ็บปวด มันสงบสุขอยู่โดยธรรมชาติ เหมือนจิตของเด็กเล็กที่ตามพ่อแม่ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ขณะที่พ่อแม่มุ่งแต่ตัดสินและประเมินมูลค่าของงานศิลปะที่แสดงอยู่ แต่เด็กน้อยกลับมองเฉยๆ เขาไม่รู้สึกพิศวงไปกับราคาของงานศิลปะบางชิ้น หรือว่ารูปภาพรูปนั้นว่าจะเก่าแก่เพียงใด หรืองานของจิตรกรคนใดจะดีกว่าของอีกคน มุมมองของเขาบริสุทธิ์หมดจด ยอมรับทุกสิ่งอย่างที่มันเป็น มุมมองอันบริสุทธิ์เยี่ยงนี้ ศัพท์ทางพุทธเรียกว่า “สันติสุขโดยธรรมชาติ” เป็นสภาวะคล้ายกับความรู้สึกผ่อนคลายอย่างที่สุดหลังจากที่เราไปออกกำลังกายในยิม หรือทำงานยากๆ ได้สำเร็จลุล่วง

– ท่านมินจูร์ รินโปเช
จากหนังสือ “ชีวิตที่เบิกบาน”

I'd like to make it clear that the comparison between natural mind and space as described by modern science is really more of a useful metaphor than an exact description. When most of us think of space, we think of a blank background against which all sorts of things appear and disappear: stars, planets, comets, meteors, black holes, and asteroids even things that haven't yet been discovered. Yet, despite all this activity, our idea of the essential nature of space remains undisturbed. As far as we know, at least, space has yet to complain about what happens within itself. We've sent thousands--millions--of messages out into the universe, and never once have we received a response like "I am so angry that an asteroid just smashed into my favorite planet" or 'Wow, I'm thrilled! A new star has just come into being!"

In the same way, the essence of mind is untouched by unpleasant thoughts or conditions that might ordinarily be considered painful. It's naturally peaceful, like the mind of a young child accompanying his parents through a museum. While his parents are completely caught up in judging and evaluating the various works of art on display, the child merely sees. He doesn't wonder how much some piece of art might have cost, how old a statue is, or whether one painter's work is better than another's. His perspective is completely innocent, accepting everything it beholds. This innocent perspective is known in Buddhist terms as “natural peace,” a condition similar to the sensation of total relaxation a person experiences after, say, going to the gym or completing a complicated task.

– Mingyur Rinpoche
from the book “The Joy of Living”