ธรรมะคืออะไร?
การสอนออนไลน์โดยท่านเคนโป กุงกา
วันและเวลา
ช่วงที่ 1
12 มิถุนายน (เสาร์), 8-10 น. (ตามเวลาประเทศไทย)
ช่วงที่ 2
13 มิถุนายน (อาทิตย์), 8-10 น. (ตามเวลาประเทศไทย)
ภาษา
ท่านเคนโป กุงกาจะสอนเป็นภาษาทิเบต
มีล่ามแปลเป็นภาษาอังกฤษ จีนกลาง จีนกวางตุ้ง เกาหลี อินโดนีเซีย และภาษาไทย
โปรแกรมนี้เปิดสำหรับทุกคน และฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับการสอน
โปรแกรมการภาวนาของเทอร์การ์มาจากปัญญาญาณในคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้มากกว่า 2,500 ปีมาแล้ว คำสอนเหล่านี้ หรือพุทธธรรม ให้ความเข้าใจในธรรมชาติของจิตของเรา และธรรมชาติของความเป็นจริง คำสอนของพระองค์สร้างแนวคิดที่อธิบายว่า เหตุใดเราจึงต้องพยายามฝึกจิตของเรา
ในคำสอนนี้ ท่านเคนโป กุงกาจะแบ่งปันความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับแก่นแท้ของพุทธธรรมจากมุมมองพุทธทิเบต และชี้ให้เห็นว่า ความรู้ดังกล่าวหากนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจะสามารถนำทางให้เราใช้ชีวิตที่เต็มเปี่ยมและมีความหมายได้อย่างไร
มาร่วมกันค้นหา หรือค้นพบแก่นคำสอนของพระพุทธเจ้ากันอีกครั้ง
หมดเขตลงทะเบียน: 4 มิถุนายน 2564
เกี่ยวกับท่านเคนโป กุงกา
ท่านเคนโป กุงกาเป็นหนึ่งในครูผู้สอนหลักของเครือข่ายวัดเทอร์การ์ ศูนย์ปฏิบัติภาวนา และกลุ่มปฏิบัติภาวนาทั่วโลก รูปแบบการสอนที่ผ่อนคลายและสร้างการมีส่วนร่วมของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่รักของลูกศิษย์ทั่วโลก
ท่านเคนโป กุงกาบวชเป็นพระตั้งแต่อายุยังน้อย และเริ่มการศึกษาที่วัดเทอร์การ์ ที่ซึ่งท่านได้ศึกษาพิธีกรรม การสวดมนต์ และการปฏิบัติแบบดั้งเดิมอื่นๆ ตามประเพณีพุทธทิเบต เมื่ออายุ 15 ปี ท่านได้เข้าสู่การปลีกวิเวกภาวนา และใช้เวลา 3 ปีในการฝึกฝนการปฏิบัติอย่างลึกซึ้งในสายการปฏิบัติกาจู
หลังจากการฝึกปฏิบัติภาวนาอย่างเข้มข้น ท่านได้เข้าเรียนในวิทยาลัยสงฆ์จงซาร์อันมีชื่อเสียงที่อยู่ใกล้กับเมืองธรรมศาลา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย หลังจากเรียนที่นั่น 11 ปี และได้รับปริญญาระดับเคนโป (เทียบเท่ากับปริญญาเอก) ท่านได้สอนที่วิทยาลัยจงซาร์อีกเป็นเวลา 3 ปี
คุรุหลักของท่านเคนโป กุงกา คือ ท่านยงเก มิงจูร์ รินโปเช และท่านได้เคยศึกษากับครูบาอาจารย์ที่น่าเคารพนับถืออีกมากมายหลายท่านเช่นกัน
“เคนโป” หมายความว่าอะไร?
“เคนโป” เป็นตำแหน่ง เทียบเคียงกับปริญญาสำหรับการศึกษาทางพุทธศาสตร์ขั้นสูงในพุทธศาสนาแบบทิเบต ในสายการปฏิบัติณิงมา, สา-กยา และกาจู ตำแหน่งนี้มอบแด่พระสงฆ์ที่เรียนจบตามปกติ 9 ปี และ 11 ปี ในการศึกษาด้านพุทธปรัชญาในเชดรา (โรงเรียนสำหรับพระสงฆ์) และมีความรู้ตรงตามระดับการศึกษาและสอบผ่านแล้ว และในโรงเรียนบางแห่งนั้นรวมถึงการรักษาศีลวินัยและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมด้วย ในบริบทปัจจุบัน ตำแหน่งนี้จะเทียบง่ายๆ ได้กับปริญญาเอก