Tergar Thai
Tergar Thai28 4 月
“ข้าพเจ้าเก็บตัวภาวนาอยู่แต่ในห้องเป็นเวลา 3 วัน ใช้อุบายวิธีหลายอย่างดังจะได้อธิบายในภายหลัง ข้าพเจ้าค่อยๆ เริ่มเห็นความคิดและอารมณ์ที่วูบไหวและเป็นของชั่วคราว ว่ามันสร้างความทุกข์แก่ข้าพเจ้ามานานนับปีได้อย่างไร และแลเห็นว่าการยึดติดกับปัญหาเล็กๆ กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้อย่างไร เพียงการนั่งเงียบๆ และสังเกตว่าความคิดและอารมณ์เข้ามาและออกไปอย่างรวดเร็วและไร้เหตุผลสิ้นดี ข้าพเจ้าเริ่มตระหนักรู้ว่า มันไม่ได้มีตัวตนที่จับต้องได้ หรือมีอยู่จริงอย่างที่ดูเหมือนจะเป็นเลย เมื่อข้าพเจ้าเริ่มเลิกเชื่อถือในสิ่งที่มันบอกเล่า ข้าพเจ้าก็เริ่มเห็น “ต้นกำเนิด” ที่อยู่เหนือเรื่องราวเหล่านั้น นั่นคือความไพศาลไม่สิ้นสุด เป็นการตื่นรู้ที่เปิดกว้างอย่างไม่มีขอบเขต ซึ่งก็คือธรรมชาติของตัวจิตเอง

ความพยายามที่เข้าไปจับประสบการณ์ตรงของธรรมชาติแห่งจิต เป็นสิ่งที่ไม่อาจบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้ อย่างมากก็อธิบายได้แค่ว่า นั่นเป็นสภาวะที่สงบสุขอย่างไม่มีประมาณ และเมื่อรักษาให้สภาวะคงที่ด้วยการเห็นซ้ำอีก มันก็ตั้งมั่นอยู่อย่างนั้นไม่สั่นคลอน เป็นสภาวะของอันติมสุขที่เปล่งรัศมีออกมาทั้งทางกาย อารมณ์ และสภาพจิตใจทั้งมวล แม้กระทั่งสิ่งที่ตามปกติเราตีตราว่าเป็นความไม่น่าพึงใจก็ตาม ทิพยสุขเยี่ยงนี้แม้ว่าจะมีความผันแปรของประสบการณ์ทั้งภายนอกและภายใน คืออาการอันชัดเจนในอันที่จะเข้าใจในสิ่งที่ชาวพุทธเรียกว่า “ปิติสุข” และข้าพเจ้าโชคดีที่ได้เห็นมันแม้เพียงแวบเดียวในระหว่างอยู่สันโดษ 3 วัน

หลังจาก 3 วันนั้นแล้ว ข้าพเจ้าออกจากห้องแล้วกลับเข้าร่วมการปฏิบัติหมู่ ก็ยังต้องใช้เวลาอีก 2 สัปดาห์ในการปฏิบัติอย่างหนักเพื่อเอาชนะโรคตื่นตระหนกที่ติดตัวมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งข้าพเจ้าได้ประจักษ์แล้วด้วยประสบการณ์ตรงถึงความจริงที่ได้ถูกสอนมา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ข้าพเจ้าก็ไม่เกิดความตื่นตระหนกอีกแม้แต่ครั้งเดียว สันติสุข ความเชื่อมั่น และปีติสุข ที่เป็นผลจากประสบการณ์ในครั้งนี้ แม้จะอยู่ภายใต้เหตุปัจจัยอันบีบคั้นก็ไม่สั่นคลอนอีกเลย ข้าพเจ้าไม่พึงได้รับคำชมเชยใดๆ จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ เพราะนี่เป็นเพียงความพยายามที่จะนำความจริงซึ่งผู้ที่รักและห่วงใยข้าพเจ้ามาปรับใช้เท่านั้น”

– ท่านมินจูร์ รินโปเช
จากหนังสือ “ชีวิตที่เบิกบาน”

“For three days I stayed in my room meditating, using many of the techniques described later in this book. Gradually I began to recognize how feeble and transitory the thoughts and emotions that had troubled me for years actually were, and how fixating on small problems had turned them into big ones. Just by sitting quietly and observing how rapidly, and in many ways illogically, my thoughts and emotions came and went, I began to recognize in a direct way that they weren't nearly as solid or real as they appeared to be. And once I began to let go of my belief in the story they seemed to tell, I began to see the “author” beyond them––the infinitely vast, infinitely open awareness that is the nature of mind itself.

Any attempt to capture the direct experience of the nature of mind in words is impossible. The best that can be said is that the experience is immeasurably peaceful, and, once stabilized through repeated experience, virtually unshakable. It's an experience of absolute well-being that radiates through all physical, emotional, and mental states––even those that might be ordinarily labeled as unpleasant. This sense of well-being, regardless of the fluctuation of outer and inner experiences, is one of the clearest ways to understand what Buddhists mean by “happiness,” and I was fortunate to have caught a glimpse of it during my three days of isolation.

At the end of those three days, I left my room and rejoined the group practices. It took about two more weeks of concentrated practice to conquer the anxiety that had accompanied me throughout my childhood, and to realize through direct experience the truth of what I'd been taught. From that point on, I haven't experienced a single panic attack. The sense of peace, confidence, and well-being that resulted from this experience––even under conditions that might objectively be regarded as stressful––has never wavered. I take no personal credit for this transformation in my experience, because it has only come about through making the effort to apply directly the truth handed down by those who'd preceded me.”

– Mingyur Rinpoche
from the book “The Joy of Living”
Tergar Thai
Tergar Thai27 4 月
ความเคยชินที่คิดว่าสิ่งต่างๆ ดำรงอยู่ในโลก “ข้างนอกนั่น” หรือ “ข้างในนี้” เป็นเรื่องยากที่จะละวางได้ เพราะนั่นหมายถึงคุณต้องปล่อยวางมายาภาพทั้งปวงที่คุณสนุกกับมัน และตระหนักรู้ว่า ทุกสิ่งที่คุณรู้สึกนึกคิด ทุกอย่างที่คุณคิดว่าเป็น “สิ่งอื่น” แท้จริงเป็นแค่การสำแดงออกอย่างเป็นธรรมชาติของจิตคุณเอง มันหมายถึงการละทิ้งแนวคิดเรื่องความจริง แต่ให้รับรู้การไหลเนื่องของความจริงอย่างที่มันเป็น ในขณะเดียวกันคุณก็ต้องไม่ตัดขาดจากการรับรู้ของคุณอย่างสิ้นเชิง คุณไม่จำเป็นต้องโดดเดี่ยวตัวเองอยู่กับการปลีกวิเวกในถ้ำหรือบนภูเขา คุณยังสามารถรื่นรมย์กับการรับรู้โดยไม่เข้าไปพัวพันกับมัน คุณแค่มองมันดุจดังที่มองเรื่องราวที่ประสบในความฝัน คุณจะเริ่มรู้สึกพิศวงกับความหลากหลายของประสบการณ์ที่น้อมเสนอมาให้

ด้วยการหยั่งรู้ความต่างระหว่างปรากฏการณ์กับมายาภาพ คุณจะยอมรับรู้ว่า การรับรู้บางอย่างของคุณอาจผิดหรือมีอคติ อย่างความคิดว่า สิ่งทั้งหลายเป็นตัวเป็นตนจนคุณไม่อาจเห็นมุมมองอื่นนอกจากของตัวคุณเอง เมื่อข้าพเจ้าเริ่มประจักษ์ถึงความว่างและภาวะกระจ่างของจิต ชีวิตของข้าพเจ้าก็เต็มเปี่ยมมั่งคั่งและคมชัดขึ้นอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน เมื่อข้าพเจ้าปล่อยวางความคิดว่า สิ่งต่างๆ ควรเป็นเช่นไร ข้าพเจ้าก็เป็นอิสระที่จะตอบสนองต่อประสบการณ์อย่างที่มันเป็นและอย่างที่ข้าพเจ้าเป็น ณ ตรงนั้น ณ เวลานั้น

– ท่านมินจูร์ รินโปเช
จากหนังสือ “ชีวิตที่เบิกบาน”

The habit of thinking that things exist “out there” in the world or “in here” is hard to give up, though. It means letting go of all the iilusions you cherish, and recognizing that everything you project, everything you think of as “other,” is in fact a spontaneous expression of your own mind. It means letting go of ideas about reality and instead experiencing the flow of reality as it is. At the same time, you don't have to completely disengage from your perceptions. You don't have to isolate yourself in a cave or mountain retreat. You can enjoy your perceptions without actively engaging them, looking at them in the same way you'd look at the objects you'd experience in a dream. You can actually begin to marvel at the variety of experiences that present themselves to you.

Through recognizing the distinction between appearance and illusion, you give yourself permission to acknowledge that some of your perceptions might be wrong or biased, that your ideas of how things ought to be may have solidified to the degree that you can't see any other point of view but your own. When I began to recognize the emptiness and clarity of my own mind, my life became richer and more vivid in ways I never could have imagined. Once I shed my ideas about how things should be, I became free to respond to my experience exactly as it was and exactly as I was, right there, right then.

– Mingyur Rinpoche
from the book “The Joy of Living”
Tergar Thai
Tergar Thai25 4 月
รับมอบคำสอนสำคัญเกี่ยวกับมหามุทราและซกเชนจากคัมภีร์โดร์เจ โดรโล ด้วยตนเอง ณ วัดเทอร์การ์ โอเซล ลิง ที่เป็นแกนกลางทางจิตวิญญาณอันมีชีวิตชีวาของสายการปฏิบัติเทอร์การ์ ตลอดจนเป็นวัดและบ้านของท่านยงเก มินจูร์ รินโปเช การได้อยู่ในสถานที่พิเศษแห่งนี้ และอยู่ต่อหน้าคุรุที่มีชีวิต จะช่วยให้เราอยู่เหนือระดับความเข้าใจและสัมผัสถึงปัญญาญาณแห่งคำสอนได้อย่างแท้จริง

วัดนี้ตั้งอยู่ในเมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล เป็นสถานที่แห่งแรงบันดาลใจ การศึกษา และการปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์กว่า 300 รูปที่มาอยู่อาศัย เรียนรู้ ปฏิบัติภาวนา และอภิปรายร่วมกัน

ต่อไปนี้เป็นงานอบรมภาวนาแบบเข้าร่วมด้วยตนเอง และลิงค์เฉพาะสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ข้อกำหนดเบื้องต้น และการลงทะเบียน:

✨ มรรคาแห่งการหลุดพ้น ระดับที่ 1 & 2: จิตสร้างความเป็นจริง & จิตและศูนยตา
31 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน 2567

https://events.tergar.org/events/detail/path-of-liberation-level-1-2-mind-creates-reality-in-person-MzE1

✨ ลำนำแห่งการรู้แจ้งของท่านติโลปะ: สร้างเสถียรภาพในตระหนักรู้มหามุทรา
7–10 มิถุนายน 2567

https://events.tergar.org/events/detail/tilopas-song-of-realization-stabilizing-the-recognition-of-mahamudra-retreat-in-person-MzE2

✨ โดร์เจ โดรโล: การปฏิบัติรากฐาน
13-16 มิถุนายน 2567

https://events.tergar.org/events/detail/dorje-drolo-the-foundational-practices-in-person-MzE5

✨ คำสอนซกเชนจากการบินของครุฑ สำหรับนักเรียนคอร์สมรรคาแห่งความหลุดพ้น ระดับที่ 5
19-20 มิถุนายน 2567

https://events.tergar.org/events/detail/dzogchen-teachings-from-flight-of-the-garuda-for-path-of-liberation-5-students-in-person-MzE4

หมายเหตุ : งานอบรมภาวนาแบบเข้าร่วมด้วยตนเอง ณ วัดเทอร์การ์ โอเซล ลิง เหล่านี้ ไม่มีล่ามแปลภาษาไทย

#mingyurrinpoche #kathmanduretreats #kathmandu #dorjedrolo #mahamudra #pathofliberation #dzogchen

Receive key teachings on Mahamudra and Dzogchen from the Dorje Drolö cycle in person at Osel Ling Monastery — the vibrant spiritual core of the Tergar lineage and the home and monastic seat of Yongey Mingyur Rinpoche. Being in this special place and in the presence of the living teacher helps us beyond the understanding level and truly experience the wisdom of the teachings.

Located in Kathmandu, Nepal, the monastery is a place of inspiration, study, and contemplation for over 300 monks who live, study, meditate and debate together.

Here are the in-person retreats and specific links for more information, prerequisites and registration:

✨ Path of Liberation Levels 1 & 2: Mind Creates Reality & Mind and Emptiness Retreat May 31 – June 5, 2024

https://events.tergar.org/events/detail/path-of-liberation-level-1-2-mind-creates-reality-in-person-MzE1

✨ Tilopa’s Song of Realization: Stabilizing the Recognition of Mahamudra Retreat
- June 7–10, 2024

https://events.tergar.org/events/detail/tilopas-song-of-realization-stabilizing-the-recognition-of-mahamudra-retreat-in-person-MzE2

✨ Dorje Drolö: The Foundational Practice - June 13-16, 2024

https://events.tergar.org/events/detail/dorje-drolo-the-foundational-practices-in-person-MzE5

✨ Dzogchen Teachings from Flight of the Garuda for Path of Liberation 5 Students - June 19-20, 2024

https://events.tergar.org/events/detail/dzogchen-teachings-from-flight-of-the-garuda-for-path-of-liberation-5-students-in-person-MzE4
Tergar Thai
Tergar Thai23 4 月
เปิดลงทะเบียนแล้วสำหรับงานกิจกรรมฟรี!
“เส้นทางภาวนาของฉัน กับ เฮเลน ทวอร์คอฟ”
4 พฤษภาคม 2024
21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ร่วมรับฟังเฮเลน ทวอร์คอฟ ซึ่งเป็นผู้ร่วมเขียนหนังสือของท่านมินจูร์ รินโปเช สำหรับการสนทนา 60 นาทีกับคอร์ทแลนด์ ดาห์ล ผู้ก่อตั้งเทอร์การ์ อินเตอร์เนชั่นแนล

เฮเลนซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็น “เด็กหลงทาง” ในโลกแห่งศิลปะของนิวยอร์กในช่วงทศวรรษที่ 1950 จะแบ่งปันเรื่องราวการเดินทางไปยังญี่ปุ่นและเนปาลที่เปลี่ยนแปลงเธอ โดยในปี 1965 เธอเป็นอาสาสมัครที่ค่ายผู้ลี้ภัยชาวทิเบต ได้เดินทางกลับสหรัฐอเมริกา และเข้าร่วมประท้วงต่อต้านสงครามเวียดนาม หลังจากนั้น เธอก็ได้พบปะครูบาอาจารย์ชาวพุทธคนสำคัญและการก่อตั้ง Tricycle: The Buddha Review ซึ่งเป็นนิตยสารอิสระเกี่ยวกับพุทธศาสนาเล่มแรกในสหรัฐอเมริกา

ลงทะเบียนเข้าร่วมที่นี่: https://tergar.org/mmj-helen-tworkov/
(ไม่มีล่ามแปลภาษาไทย)

#helentworkov #mymeditationjourney #tergarevents2024 #meditation #freemeditationevent #tricyclemagazine #meditationforbeginners #learnmeditation

Registration is now open for My Meditation Journey with Helen Tworkov
May 4, 2024 - a FREE event

Join Helen Tworkov, co-author of Mingyur Rinpoche’s books, for this 60-minute conversation with Tergar International founder Cortland Dahl.

A self-described “lost child” of the 1950s New York art world, Helen will share her transformational journey to Japan and Nepal where, in 1965, she volunteered at a Tibetan Refugee camp, her return to the United States, and the counterculture protests sparked by the Vietnam War. Following this, we learn of her meetings with leading Buddhist teachers and her founding of Tricycle: The Buddhist Review, the first independent newsstand Buddhist magazine in the United States.

Register to join here: https://tergar.org/mmj-helen-tworkov/
Tergar Thai
Tergar Thai21 4 月
“ทุกคนอยากเป็นสุข ไม่มีใครอยากทุกข์
คนเหล่านี้รู้สึกรู้ทุกข์เหมือนฉัน พวกเขาเคยสูญเสียคนที่เขารัก
พวกเขารู้จักกลัวและรู้จักเมตตา
พวกเขาก็จะตายไป เช่นเดียวกับฉัน”

– ท่านมินจูร์ รินโปเช
จากหนังสือ “รักโลก”

“Everyone wants happiness; no one wants suffering.
These people too have known joy and distress, just like me.
They too have lost loved ones. They too have known fear and kindness.
They too will die, just as I will.”

– Mingyur Rinpoche
from the book “In Love with the World”